บทความ
การสร้างเส้นเลือดใหม่กับโรคตา
การสร้างเส้นเลือดใหม่มีความเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของตามากมาย ซึ่งรวมถึงโรคจอตาเสื่อมจากเบาหวาน ภาวะความผิดปกติของเส้นเลือดจอประสาทตา โรคจอประสาทตาเสื่อม เส้นเลือดเกิดขึ้นบริเวณตาดำ ต้อหินชนิดมีเส้นเลือดงอกใหม่ (Neovascular Glaucoma)
ภาพ 1. เลือดออกในน้ำวุ้นตาและจอประสาทตาลอกจากแรงดึง
โรคจอตาเสื่อมจากเบาหวาน (Diabetic Retinopathy)
โรคจอตาเสื่อมจากเบาหวานเป็นสาเหตุหลักอันดับสองของอาการตาบอดในคนญี่ปุ่น เป็นภาวะแทรกซ้อนซึ่งเกิดที่หลอดเลือดขนาดเล็ก ปัญหาของจอตาได้แก่ จุดภาพชัดบวมน้ำจากเบาหวาน และ ภาวะแทรกซ้อนจากการเกิดอย่างผิดปกติเส้นเลือดจอตา เป็นต้นเหตุของการสูญเสียการมองเห็นจากโรคเบาหวาน เพราะมีการไหลเวียนสูงขึ้นเลยทำให้มีการเร่งอาการจอตาเสื่อม แต่ความจริงแล้ว อาการเสื่อมจอตานั้นมีสาเหตุสำคัญมาจากการเกิดเส้นเลือดใหม่ โรคเบาหวานจึงเป็นสาเหตุสำคัญรองลงมา เนื่องจากเชื่อกันว่าระดับกลูโคสที่สูงขึ้นจะมีผลกระทบทางโครงสร้างและกายภาพต่อหลอดเลือดฝอยในจอตา ซึ่งทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจนในเนื้อเยื่อจอตาและนำไปสู่การสร้าง VEGF-A ซึ่งเป็นโปรตีนที่กระตุ้นการสร้างเส้นเลือดใหม่ แต่การเกิดเส้นเลือดในจอตาจากอาการเบาหวานขึ้นจอตาระยะหลัง (Proliferative Diabetic Retinopathy: PDR) นี้สามารถควบคุมได้ด้วยการใช้ยา anti-VEGF
โรคจอประสาทตาเสื่อมเนื่องจากอายุ
โรคจอประสาทตาเสื่อมเนื่องจากอายุ (Age-related Macular Degeneration : AMD) จัดว่าเป็นสาเหตุหลักอันดับสี่ของอาการตาบอดในคนญี่ปุ่น เป็นโรคที่มีเส้นเลือดใหม่ซึ่งไม่มีอยู่ในสภาวะปกติงอกขึ้นมาจากชั้นเนื้อเยื่อลูกตาบริเวณแมคิวล่า(จุดกลางรับภาพ) ซึ่งอยู่นอกเรติน่าในบริเวณที่มีเส้นเลือดอยู่หนาแน่น(macular choroid) เข้าไปหาเรติน่า เนื่องจากผนังของเส้นเลือดที่งอกใหม่นี้มีความเปราะบางมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่เป็นโรคจอตาเสื่อมจากเบาหวาน จึงทำให้เลือดรั่วซึมเข้าไปในเนื้อเยื่อแมคิวล่า ทำให้การมองเห็นฝ้ามัวลงและทำลายการทำงานของแมคิวล่าซึ่งเป็นส่วนที่ละเอียดอ่อนที่สุดในเรติน่า อาการอาจจะคืบหน้าอย่างรวดเร็วจนทำให้การมองเห็นแย่ลงและมองเห็นภาพบิดเบือน ดังนั้นการเกิดเส้นเลือดใหม่จึงเป็นต้นเหตุในการทำลายแมคิวล่าของเรติน่าได้โดยมีอาการมองเห็นภาพขุ่นมัวเป็นผลลัพธ์ตามมา และนอกจากนี้ก็ยังมีความเสี่ยงที่จะตาบอดได้สูงในรายที่มีอาการหนัก
ภาพ 2. การทรุดลงของอาการของโรคที่ก่อให้เกิดเส้นเลือดอุดตัน
อ้างอิง
- Aiello LM. Perspectives on diabetic retinopathy. Am J Ophthalmol 2003 Jul, 136(1), 122-135
- Caldwell RB; Bartoli M; Behzadian MA; El-Remessy AE; Al-Shabrawey M; Platt DH; Caldwell RW. Vascular endothelial growth factor and diabetic retinopathy: pathophysiological mechanisms and treatment perspectives. Diabetes Metab Res Rev 2003 Nov-Dec, 19(6), 442-455
- Smith LE; Shen W; Perruzzi C; Soker S; Kinose F; Xu X; Robinson G; Driver S; Bischoff J; Zhang B; Schaeffer JM; Senger DR. Regulation of vascular endothelial growth factor-dependent retinal neovascularization by insulin-like growth factor-1 receptor. Nat Med 1999 Dec, 5(12), 1390-1395
- Crawford TN; Alfaro DV 3rd; Kerrison JB; Jablon EP. Diabetic retinopathy and angiogenesis. Curr Diabetes Rev 2009 Feb, 5(1), 8-13
- Nguyen DH, Luo J, Zhang K, Zhang M. Current therapeutic approaches in neovascular age-related macular degeneration. Discov Med. 2013 Jun;15(85):343-8.
- Heier JS. Neovascular age-related macular degeneration: individualizing therapy in the era of anti-angiogenic treatments. Ophthalmology. 2013 May;120(5 Suppl):S23-5. doi: 10.1016/j.ophtha.2013.01.059.
Related Resources
-
มาโคลิปิน (Macolipin ลิปิดสกัดจากปลาฉลาม)