บทความ

โรคกระดูกพรุน

การที่มีกระดูกแข็งแรงส่งผลต่อคุณภาพการมีชีวิตที่ดี ผู้สูงวัยและผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนส่วนใหญ่ มีความเสี่ยงกระดูกเปราะและหักได้ง่ายเนื่องจากมวลกระดูกลดลง
โรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุนคืออะไร?


โรคกระดูกพรุน(Osteoporosis)คือ ภาวะความหนาแน่นของแร่ธาตุในกระดูกลดลงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเมื่อแก่ตัวลง โครงสร้างที่เคยแข็งแรงของกระดูกได้ถูกทำลายและเกิดความเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน ในคนหนุ่มสาวปกติทั่วไปที่มีสุขภาพแข็งแรง การสลายและสร้างมวลกระดูกเกิดขึ้นในระดับสมดุลจึงทำให้มีโครงสร้างกระดูกที่สมบูรณ์ แต่เมื่ออายุมากขึ้นทำให้การสลายกระดูกเกิดขึ้นมากกว่าการสร้างกระดูกในผู้สูงวัยจึงทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนในทั้งผู้หญิงและผู้ชาย นอกจากความชราที่เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคกระดูกพรุน ยังมีปัจจัยอื่นด้วย เช่น เชื้อชาติ น้ำหนักตัว วิถีการใช้ชีวิต โครงสร้างร่างกาย และเพศ รวมถึงการสูบบุหรี่จัดและการบริโภคแอลกอฮอล์มากเกินไป

สำหรับผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนหรือวัย 55 ขึ้นไป ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มีบทบาทในการปรับสมดุลการสร้างและสลายกระดูกจะถูกผลิตน้อยลงซึ่งส่งผลกระทบต่อโครงสร้างกระดูก ยิ่งไปกว่านั้นหากขาดแคลเซียมและวิตามินดีจะยิ่งนำไปสู่ภาวะกระดูกพรุนในภายหน้า ผู้หญิงวัย 55 ปีขี้นไป ควรบริโภคแคลเซียมอย่างน้อย 1500 มิลลิกรัมต่อวัน ร่วมกับวิตามินดี 600 ถึง 800IU อย่างไรก็ตาม อาหารเสริมจะจำเป็นต่อเมื่อร่างกายได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอและอยู่ในพื้นที่ที่ไม่ค่อยมีแสงแดด

การลดผลกระทบที่เกิดจากโรคกระดูกพรุน


อันตรายหลักๆของโรคกระดูกพรุนคือ กระดูกหักจากการหกล้ม กระดูกสันหลังหัก และกระดูกสะโพกหัก การลดผลกระทบของโรคกระดูกพรุนได้ด้วยการปรับแนวทางการใช้ชีวิตและรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพร่วมกับการออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น ว่ายน้ำ เทนนิส หรือการตีกอล์ฟ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการสร้างกระดูก นอกจากนี้ควรจำกัดบริโภคแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนสูงเพื่อรักษาน้ำหนักตัวที่ดีต่อสุขภาพ การใช้ยาบิสฟอสโฟเนค(Bisphosphonates)เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการลดความเสื่อมของกระดูก อย่างไรก็ตามการใช้ยามีผลข้างเคียงคือ อาการคลื่นไส้และอาหารไม่ย่อย รวมถึงการให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นฮอร์โมนทดแทน หรือ Hormone Replacement Therapy (HRT) ซึ่งสามารถลดการสูญเสียมวลกระดูกได้ แต่หากใช้เป็นเวลานานจะมีความเสี่ยงเช่นกัน
อ้างอิง
  1. Osteoporosis New Zealand (Inc), Wellington. What is Osteoporosis?. Osteoporosis New Zealand (2011)
  2. National Osteoporosis Foundation. Clinician’s Guide to Prevention and Treatment of Osteoporosis. Washington, DC, National Osteoporosis Foundation, 2010.
  3. L. Kathleen Mahan; Sylvia Escott-Stump. Nutrition and bone health. Krause’s Food and Nutrition Therapy, 12th ed., pp. 614-635. St. Louis: Saunders Elsevier. Anderson JJB (2008).
  4. North American Menopause Society. Management of osteoporosis in postmenopausal women: 2010 position statement of The North American Menopause Society. Menopause 2010 Jan-Feb, 17(1), 25-54
  5. Park-Wyllie LY; Mamdani MM; Juurlink DN; Hawker GA; Gunraj N; Austin PC; Whelan DB; Weiler PJ; Laupacis A. Bisphosphonate use and the risk of subtrochanteric or femoral shaft fractures in older women. JAMA 2011 Feb 23, 305(8), 783-789
Related Resources
  • วัตถุดิบ_CBP

    CBP


Related Products
  • โกโกกิ พาวเวอร์ (Kokoki Power)


ความสัมพันธ์ระหว่างกระดูกกับผิว วัตถุดิบ
APCGCT
Gene Therapy Research Institution