บทความ
การปรับสมดุลภูมิคุ้มกันโรค
ความสมดุลคือปัจจัยสำคัญไม่ว่าจะในแง่มุมใดของชีวิต การมีระดับปฏิกิริยาตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่สมดุลเองก็เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างขาดเสียไม่ได้สำหรับการมีสุขภาพที่ดี การเกิดขึ้นของเซลล์ที (T-lymphocytes) ที่มากเกินไป อาจก่อให้เกิดโรคที่มีอาการอักเสบได้หลายอย่างตั้งแต่ภูมิแพ้แบบเล็กน้อยไปจนถึงสภาวะที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ดังนั้นเซลล์ที่เกี่ยวข้องมากที่สุดในการควบคุมปฏิกิริยาตอบสนองทางภูมิคุ้มกันคือเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซท์ที่เรียกกันว่าผู้ช่วยเซลล์ที (T helper cells) โครงสร้างที่ได้สมดุลระหว่างเซลล์ Th-1 กับเซลล์ Th-2 ซึ่งเป็นผู้ช่วยเซลล์ทีประเภทหนึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
เซลล์ Th-1 ทำหน้าที่ปรับระบบภูมิคุ้มกันจากเซลล์และมีความเกี่ยวข้องกับ เซลล์ NK (Natural Killer) เซลล์เม็ดเลือดขาว เช่น แมโครฟาจ ฟาโกไซต์ นิวโตรฟิล ฯลฯ ส่วนเซลล์ Th-2 ทำหน้าที่ปรับ Humoral mediated immunity (หรือเรียกอีกอย่างว่า Humoral immunity) เซลล์ Th-1 กับเซลล์ Th-2 ทำงานโดยการสร้างและปล่อยโมเลกุลของโปรตีนขนาดเล็กที่เรียกว่าไซโตไคน์ (Cytokines) ซึ่งจะไปกระตุ้นให้มีการส่งสัญญาณพิเศษออกไปเพื่อโต้ตอบกับสิ่งเร้าภูมิคุ้มกัน ไซโตไคน์มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคภัยมากมายและมีความจำเป็นที่จะต้องอยู่ในสภาพที่สมดุลเช่นเดียวกับการทำงานอื่น เซลล์ Th-1 จะสร้างไซโตไคน์ที่จะไปกระตุ้นการอักเสบ แมโครฟาจ Killer T cells และอื่นๆ เซลล์ Th-2 จะสร้างไซโตไคน์ที่จะไปกระตุ้นการสร้างแอนติบอดี้และกิจกรรมของเซลล์บี ในกรณีที่ เซลล์ Th-1 กับเซลล์ Th-2 ตัวใดตัวหนึ่งเข้มแข็งกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง ก็อาจมีความเป็นไปได้ที่จะนำไปสู่สภาวะการเป็นโรคที่นอกเหนือจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียได้ ตัวอย่างในกรณีที่เซลล์ Th-1 เข้มแข็งเกินไปก็จะมีความเป็นไปได้ที่จะก่อให้เกิดโรคไขข้ออักเสบ โรคลำไส้อักเสบโครห์น (Crohn’s disease) โรคปลอกหุ้มเส้นประสาทอักเสบและโรคสะเก็ดเงิน เป็นต้น ส่วนในกรณีที่เซลล์ Th-2 เข้มแข็งกว่าก็จะเกี่ยวข้องกับโรคภัยจำนวนมาก เช่น โรคหอบหืด ภูมิแพ้ ไวรัสตับอักเสบซีและมะเร็ง
คุณลักษณะที่น่าสนใจของสถานการณ์ที่เซลล์ Th-1 และ Th-2 ไม่สมดุล กล่าวคือในกรณีของหญิงตั้งครรภ์ที่ป่วยเป็นโรคไขข้ออักเสบ อาการจะบรรเทาลงในระหว่างที่ตั้งครรภ์แล้วจะกลับมาเป็นใหม่หลังคลอดบุตร เนื่องจากการตั้งครรภ์เป็นภาวะที่เซลล์ Th-2 มีจำนวนเพิ่มขึ้นจึงไปกดปฏิกิริยาตอบสนองภูมิคุ้มกันตนเอง (Autoimmune Reactions) ที่เกิดจากเซลล์ Th-1
โรคภูมิต้านตนเอง (Autoimmunity) คือสภาวะที่ระบบภูมิคุ้มกันมีปฏิกิริยาต่อต้านเซลล์และเนื้อเยื่อภายในร่างกายของตัวเอง ในกรณีที่ตั้งครรภ์จะมีความเสี่ยงที่ร่างกายจะปฏิเสธทารกในครรภ์ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันนึกว่าทารกเป็นสิ่งแปลกปลอมซึ่งอาจกลายเป็นปัญหาได้
โดยทั่วไปภูมิคุ้มกันมีโอกาสบกพร่องได้ในหลายวิธี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่มีการแพร่กระจายของโรคติดต่อและโรคติดเชื้อที่เรายังไม่มีภูมิต้านทานที่จำเป็น ดังนั้นเด็กและคนหนุ่มสาวจะติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียได้ง่ายเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันยังอยู่ระหว่างการพัฒนา ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงเรียนที่เป็นสถานที่ที่โรคภัยจะสามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ระบบภูมิคุ้มกันในกลุ่มผู้สูงอายุก็จะเสื่อมลงไปพร้อมกับการทำงานอื่นๆของร่างกาย เช่น สายตา ความทรงจำและสภาพร่างกาย เป็นต้น
ปัจจัยอื่นๆ เช่น การขาดสารอาหาร การใช้ยาในทางที่ผิดและโรคบางอย่างสามารถทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงได้ ผู้ที่มีพฤติกรรมหรือสภาวะดังกล่าวจะป่วยหรือติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนที่แข็งแรงหรือคนที่ใส่ใจต่อสุขภาพ
เราจะเห็นความสามารถของระบบภูมิคุ้มกันของแต่ละบุคคลได้ชัดเจนเป็นพิเศษในตอนที่เราทรมานจากการตอบสนองต่ออาการแพ้ (Allergy) ในกรณีนี้เม็ดเลือดขาวจะมีปฏิกิริยาโต้ตอบที่รุนแรงเกินไปต่อสสารซึ่งอาจจะไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อร่างกาย และในการโจมตีสสารดังกล่าวจะก่อให้เกิดการตอบสนองต่ออาการแพ้ หากจะกล่าวแบบอุปมาอุปไมยก็อาจคล้ายคลึงกับการสู้รบ หากฝ่ายกบฏตัดสินใจทำการปฏิวัติ แต่ในท้ายที่สุดอาจจบลงที่การโจมตีประชาชนของตนเอง
อย่างไรก็ตามในการใช้ชีวิตปกติประจำวันความสมดุลเป็นกุญแจที่ไขสู่ความสำเร็จเช่นเดียวกับสิ่งอื่นๆอีกมากมาย ดังนั้นการมีพลังภูมิคุ้มกันที่สมดุลย่อมเป็นแนวทางการป้องกันตนจากโรคภัยทั้งมวลได้ดีที่สุด
อ้างอิง
- Kidd P. Th1/Th2 balance: the hypothesis, its limitations, and implications for health and disease. Altern Med Rev 2003 Aug, 8(3), 223-46.
- Rose NR. Predictors of autoimmune disease: autoantibodies and beyond. Autoimmunity. 2008 Sep, 41(6), 419-428.
- Schulze-Koops H; Kalden JR. The balance of Th1/Th2 cytokines in rheumatoid arthritis. Best Pract Res Clin Rheumatol 2001 Dec, 15(5), 677-691.
Related Products
-
-
ด็อกเตอร์บี น้ำผึ้งมานูก้า (Dr.Bee Manuka Honey)