บทความ

การชะลอวัย

การชะลอวัย (Anti-aging) คือการป้องกันไม่ให้เกิดความชรา โดยการยับยั้งความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในร่างกายที่เสื่อมไปตามวัย หลายปีที่ผ่านมาเทคโนโลยีด้านการแพทย์และวิทยาศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นทำให้เกิดการยับยั้งกระบวนการดังกล่าว ดังนั้นจึงเป็นเรื่องธรรมชาติที่คนสูงวัยจะรักษาคุณภาพชีวิตให้ดีทั้งร่างกายและจิตใจ ปราศจากโรค และรวมไปถึงการมีรูปโฉมที่ดีด้วย

สาเหตุของความแก่ชรา

การลดลงของการผลิตและประสิทธิภาพที่ลดลงของสารในร่างกายก่อให้เกิดความชรา เช่น ยีน โมเลกุลออกซิเจนที่ไวต่อปฏิกิริยา กระบวนการไกลเคชั่น ยีนเซอร์ทูอิน(Sirtuin) การตอบสนองภูมิคุ้มกัน ฮอร์โมนและอื่นๆ

ความแก่ชรากับโมเลกุลของออกซิเจนที่ว่องไวต่อการทำปฏิกิริยา (Reactive Oxygen Species)

เมื่อร่างกายต้องการออกซิเจนเพื่อผลิตพลังงานมาใช้เผาผลาญน้ำตาล ไขมัน และกรดอะมิโน โดย 2-5%ของออกซิเจนที่เข้าสู่ร่างกายจะกลายเป็น Reactive Oxygen Species หรือโมเลกุลออกซิเจนที่ไวต่อปฏิกิริยา ซึ่งทำลายเนื้อเยื่อต่างๆด้วยการสลายโปรตีน ไขมันและคาร์โบไฮเดรตในร่างกายของเรา ทำให้การเผาผลาญ ระบบเมตาบอลิซึมมีประสิทธิภาพการทำงานลดลงซึ่งนำไปสู่ความแก่ชรา นอกจากนี้ ROS ยังทำให้เกิดโรคต่างๆโดยสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการทานอาหารมากเกินไป ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป สูบบุหรี่จัด และการออกกำลังกายมากเกินไป

ความแก่ชรากับกระบวนการไกลเคชั่น (Glycation)

น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวเช่น กลูโคส ซึ่งสร้างแอลดีไฮด์ เมื่อแอลดีไฮด์ทำปฏิกิริยากับไขมันหรือคาร์โบไฮเดรตแล้ว จะเกิดกระบวนการไกลเคชั่น กลายเป็นภาวะน้ำตาลสะสมหรือ AGEs (Advanced Glycation End-products) ผลผลิตที่เกิดจากกระบวนการไกลเคชั่นสามารถสร้างพันธะและโพลิเมอร์ให้จับกับโปรตีน ไขมัน และยีนอื่นๆได้ เมื่อถูกเติมน้ำตาลเข้าไป โปรตีนเหล่านี้จะเกิดการสะสมในเนื้อเยื่อซึ่งไปเร่งปฏิกิริยากระตุ้น ROS ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ทำให้เกิดการแก่ชรา สังเกตได้จากการเกิดฝ้าและจุดด่างดำบนผิวหนังเมื่อมีอายุมากขึ้น และในผู้ป่วยเบาหวานอาจจะมีโรคภัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเลือดใหม่ร่วมด้วยเนื่องจากเส้นเลือดต่างๆถูกเร่งให้แก่ตัวอย่างรวดเร็ว

เซอร์ทูอิน (Sirtuin) ยีนต่อต้านการแก่ชรา

เริ่มแรกยีนเซอร์ทูอินถูกค้นพบในยีสต์ หลังจากนั้นจึงพบว่ามีอยู่ในสิ่งมีชีวิตอื่นๆบนโลกด้วย ยีนเซอร์ทูอินมีคุณสมบัติในการยับยั้ง Reactive Oxygen Species และควบคุมปฏิกิริยาที่ผิดปกติในเซลล์ภูมิคุ้มกัน จึงสามารถชะลอความแก่ชราได้อีกด้วย โดยปกติเซอร์ทูอินจะถูกกระตุ้นได้ด้วยการอดอาหารและจำกัดแคลอรี่ ซึ่งยีนเซอร์ทูอินของคนที่ทานอย่างอิ่มหนำสำราญจะอยู่ในภาวะหลับใหลซึ่งทำให้ไม่เกิดการยับยั้งกระบวนการแก่ชรา ดังนั้นการค้นหาสารที่สามารถกระตุ้นการทำงานของยีนเซอร์ทูอินคือกุญแจสำคัญในการชะลอวัย
อ้างอิง
  1. Huangfu J, Liu J, Sun Z, Wang M, Jiang Y, Chen ZY, Chen F. Antiaging Effects of Astaxanthin-Rich Alga Haematococcus pluvialis on Fruit Flies under Oxidative Stress. J Agric Food Chem. 2013 Aug 6.
  2. Buonocore D, Lazzeretti A, Tocabens P, Nobile V, Cestone E, Santin G, Bottone MG, Marzatico F. Resveratrol-procyanidin blend: nutraceutical and antiaging efficacy evaluated in a placebocontrolled, double-blind study. Clin Cosmet Investig Dermatol. 2012;5:159-65. doi: 10.2147/CCID.S36102. Epub 2012 Oct 5.
  3. Anandan R, Ganesan B, Obulesu T, Mathew S, Asha KK, Lakshmanan PT, Zynudheen AA. Antiaging effect of dietary chitosan supplementation on glutathione-dependent antioxidant system in young and aged rats. Cell Stress Chaperones. 2013 Jan;18(1):121-5. doi: 10.1007/s12192-012-0354-2. Epub 2012 Jul 25.
  4. Liang ZH, Yin DZ. Preventive treatment of traditional Chinese medicine as antistress and antiaging strategy. Rejuvenation Res. 2010 Apr-Jun;13(2-3):248-52. doi: 10.1089/rej.2009.0867.
  5. Mao GX, Zheng LD, Cao YB, Chen ZM, Lv YD, Wang YZ, Hu XL, Wang GF, Yan J. Antiaging effect of pine pollen in human diploid fibroblasts and in a mouse model induced by D-galactose. Oxid Med Cell Longev. 2012;2012:750963. doi: 10.1155/2012/750963. Epub 2012 Apr 17.
  6. Odetti P, Pronzato MA, Noberasco G, Cosso L, Traverso N, Cottalasso D, Marinari UM. Relationships between glycation and oxidation related fluorescences in rat collagen during aging. An in vivo and in vitro study. Lab Invest. 1994 Jan;70(1):61-7.
  7. Wolff SP, Jiang ZY, Hunt JV. Protein glycation and oxidative stress in diabetes mellitus and ageing. Free Radic Biol Med. 1991;10(5):339-52.
  8. Quideau S, Deffieux D, Pouysegu L. Resveratrol still has something to say about aging! Angew Chem Int Ed Engl. 2012 Jul 9;51(28):6824-6. doi: 10.1002/anie.201203059. Epub 2012 Jun 21.
Related Resources
  • Black Ginger

    กระชายดำ


  • Cherry Blossom Extract

    สารสกัดจากดอกซากุระ


  • สารสกัดจากเมล็ดองุ่น

    สารสกัดจากเมล็ดองุ่น


  • สารสกัดจากเปลือกสนนิวซีแลนด์

    สารสกัดจากเปลือกสนนิวซีแลนด์


Related Products
  • เซเลบริตี้ ฮานะ พลาเซนต้า


ความสัมพันธ์ระหว่างกระดูกกับผิว วัตถุดิบ
APCGCT
Gene Therapy Research Institution