บทความ

แอนตี้ออกซิเดชั่น

ออกซิเดชั่น คืออะไร?


กระบวนการออกซิเดชั่นเป็นปฏิกิริยาของออกซิเจนในร่างกายซึ่งมีความสำคัญอย่างมาก โดยกระบวนการทำงานเริ่มจากการหายใจเข้าเพื่อนำออกซิเจนสู่ร่างกาย ไปจนถึงระบบย่อยอาหาร เมตาบอลิซึมของเซลล์ ออกซิเจนเป็นโมเลกุลที่ทำปฏิกิริยาอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดอนุมูลอิสระ (Free Radicals) มีหน้าที่ทำลายเซลล์ที่แข็งแรงในร่างกายเสียหาย ทำให้เกิดโรคต่างๆได้ เช่นโรคที่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกัน หลอดเลือดหัวใจ และโรคที่เกี่ยวกับระบบประสาท อีกทั้งในขณะเดียวกันก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแก่ชราอีกด้วย ตัวอย่างที่พบได้ในชีวิตประจำวันคือ แอปเปิ้ลเมื่อปอกเปลือกทิ้งไว้จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล หรือทิ้งผลไม้ไว้นานๆผลไม้จะนิ่มและเน่าไปในที่สุด เช่นเดียวกับร่างกายของเรา เมื่อมีอนุมูลอิสระมากขึ้นจะทำให้เกิดริ้วรอยและกระบนผิวหนัง และกลายเป็นสัญญาณหนึ่งของความแก่ชราในที่สุด

อนุมูลอิสระคืออะไร?


อนุมูลอิสระเกิดขึ้นเมื่อร่างกายนำออกซิเจนเข้าไปใช้ นอกจากนี้อนุมูลอิสระยังเข้าสู่ร่างกายได้โดยการหายใจเอาสิ่งปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม เช่น ไอเสีย สารเคมีในอากาศที่มีอนุมูลอิสระเหล่านี้เข้าไป อย่างไรก็ตามร่างกายของคนเราก็จำเป็นต้องมีอนุมูลอิสระเพื่อช่วยระบบภูมิคุ้มกันต่อสู้กับโรคภัยต่างๆ ดังนั้นการคงสมดุลที่ดีระหว่างกิจกรรมของกระบวนการออกซิเดชั่นกับแอนตี้ออกซิเดชั่น และการรักษาระดับอนุมูลอิสระที่ผลิตตามธรรมชาติอย่างเหมาะสมน่าจะเป็นการตอบโจทย์ที่ดีที่สุด

ในการอธิบายกิจกรรมและการเกิดขึ้นของอนุมูลอิสระแบบง่ายๆ จึงจำเป็นต้องมีความเข้าใจว่าโมเลกุลที่เสถียรนั้นจะมีอิเล็กตรอนที่เป็นขั้วลบวิ่งเป็นคู่อยู่รอบนิวเคลียสที่เป็นขั้วบวก ถ้าหากอิเล็กตรอนเหล่านี้ถูกดึงออกไปโดยการตัดพันธะหรือปฏิกิริยาอื่นๆโมเลกุลก็จะกลายเป็นไม่เสถียรและจะมองหาโมเลกุลอื่นเพื่อไปดึงอิเล็กตรอนมาเป็นของตนหรือสูญเสียอิเล็กตรอนที่ไม่มีคู่ออกไปจากระบบเพื่อให้โมเลกุลกลับสู่เสถียรภาพ ในสภาวะที่ไม่เสถียรนี้เองที่โมเลกุลจะกลายเป็นอนุมูลอิสระ เมื่อโมเลกุลที่ไม่เสถียรดึงอิเล็กตรอนมาจากโมเลกุลอื่นก็จะทำให้โมเลกุลที่ถูกดึงไปนั้นกลายเป็นอนุมูลอิสระซึ่งก่อให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ไปเป็นทอดๆ

เนื่องจากกิจกรรมของอนุมูลอิสระ เช่น Reactive Oxygen Species (ROS) เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ดังนั้นในร่างกายจึงมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระอยู่เพื่อช่วยควบคุมกิจกรรมดังกล่าว แต่ถ้าหาก Reactive Oxygen Species หรืออนุมูลอิสระอื่นๆมีอยู่ในร่างกายเป็นจำนวนมาก กระบวนการต่อต้านอนุมูลอิสระตามธรรมชาติภายในร่างกายจะไม่สามารถควบคุมให้กิจกรรมเป็นกลางได้และส่งผลให้เซลล์เสียหายอย่างถาวร เช่นเดียวกันกระบวนการแก่ชราเองก็ได้รับอิทธิพลจากกิจกรรมของอนุมูลอิสระ สืบเนื่องจากการสะสมของเซลล์ที่เสียหายเป็นเวลานานและการเพิ่มขึ้นของอนุมูลอิสระที่ไปเร่งให้ร่างกายแก่เร็วขึ้น

สถานการณ์ที่เรียกว่า Oxidative Stress หรือภาวะที่มีการทำลายจากอนุมูลอิสระจะเกิดขึ้นเมื่อระบบออกซิเดชั่น/รีดักชั่น (Redox) ภายในร่างกายตนเองไม่สามารถปรับสมดุลในกิจกรรมของ Reactive Oxygen Species ได้โดยการล้างพิษตัวกลางที่มีความว่องไวในการทำปฏิกิริยาหรือซ่อมแซมเซลล์ที่เสียหาย Oxidative stress มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคภัยจำนวนมาก เช่น กลุ่มอาการเพลียเรื้อรัง (Chronic Fatigue Syndrome) โรคพาร์คินสัน ความผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจและอาการที่เกี่ยวข้องกับอายุ เช่น อัลไซเมอร์ เป็นต้น

การบำบัดด้วยสารต่อต้านอนุมูลอิสระ


การลดผลกระทบตากอนุมูลอิสระ สามารถลดได้ด้วยการบริโภคสารที่ต่อต้านอนุมูลอิสระเพื่อปรับเสถียรภาพของโมเลกุลที่กลายเป็นอนุมูลอิสระให้เป็นกลาง สารต่อต้านอนุมูลอิสระอย่างเช่นวิตามินซีและวิตามินอีสามารถปรับอนุมูลอิสระให้เป็นกลางได้โดยที่ไม่เสียเสถียรภาพของตัวเอง และการบำบัดด้วยอาหารเช่นผักและผลไม้เป็นที่รู้กันดีถึงประโยชน์ในแง่การต่อต้านอนุมูลอิสระ การบำบัดด้วยสารต่อต้านอนุมูลอิสระสำหรับผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือนเป็นสิ่งสำคัญเนื่องจากสิ่งที่เปรียบเสมือนเกราะป้องกันตนด้วยสารอนุมูลอิสระจะลดลงในกลุ่มหญิงสูงวัย หรือ การบำบัดด้วยสารต้านอนุมูลอิสระโดยใช้ผักผลไม้พบว่ามีสารเคมีที่สำคัญ คือ ไอโซฟลาโวนอยด์ (Isoflavonoid)และ โพลีฟีนอล(Polyphenols)ซึ่งอยู่บนทฤษฎีกรด/ด่าง ผักและผลไม้เต็มไปด้วยโพแทสเซียม มีหน้าที่ปรับกรดในเลือดให้เป็นกลางโดยไม่สร้างความเสียหายให้กระดูก ดังนั้นการรับประทานสารต้านอนุมูลอิสระจะช่วยชะลอการเกิดโรคกระดูกพรุนและป้องกันไม่ให้เกิดโรคที่เกิดจากสารอนุมูลอิสระต่างๆอีกด้วย
อ้างอิง
  1. Zinnuroglu M; Dincel AS; Kosova F; Sepici V; Karatas GK. Prospective evaluation of free radicals and antioxidant activity following 6-month risedronate treatment in patients with postmenopausal osteoporosis. Rheumatol Int. 2012 Apr, 32(4), 875-880. doi: 10.1007/s00296-010-1708-7.
  2. Jeanie Lerche Davis. Osteoporosis: The Effects of Smoking on Bone Health – WebMD.
  3. Bahram H. Arjmandi. The Role of Phytoestrogens in the Prevention and Treatment of Osteoporosis in Ovarian Hormone Deficiency. J Am Coll Nutr. 2001 Oct, 20(5 Suppl), 398S-402S.
  4. Brzezinski A; Debi A. Phytoestrogens: the “natural” selective estrogen receptor modulators? Eur J Obstet Gynecol Reprod Biol. 1999 Jul, 85(1), 47-51.
  5. Feskanich D; Willett WC; Stampfer MJ; Colditz GA. Protein consumption and bone fractures in women. Am J Epidemiol. 1996 Mar 1, 143(5), 472-479.
  6. Macdonald HM; New SA, Fraser WD; Campbell MK; Reid DM. Low dietary potassium intakes and high dietary estimates of net endogenous acid production are associated with low bone mineral density in premenopausal women and increased markers of bone resorption in postmenopausal women. Am J Clin Nutr. 2005 Apr, 81(4), 923-933.
Related Resources
  • Black Ginger

    กระชายดำ


  • สารสกัดจากเมล็ดองุ่น

    สารสกัดจากเมล็ดองุ่น


  • สารสกัดจากเปลือกสนนิวซีแลนด์

    สารสกัดจากเปลือกสนนิวซีแลนด์


Related Products
  • เซเลบริตี้ ฮานะ พลาเซนต้า


ความสัมพันธ์ระหว่างกระดูกกับผิว วัตถุดิบ
APCGCT
Gene Therapy Research Institution