บทความ
โรคกระดูกพรุน
การที่มีกระดูกแข็งแรงส่งผลต่อคุณภาพการมีชีวิตที่ดี ผู้สูงวัยและผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนส่วนใหญ่ มีความเสี่ยงกระดูกเปราะและหักได้ง่ายเนื่องจากมวลกระดูกลดลง
โรคกระดูกพรุนคืออะไร?
โรคกระดูกพรุน(Osteoporosis)คือ ภาวะความหนาแน่นของแร่ธาตุในกระดูกลดลงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเมื่อแก่ตัวลง โครงสร้างที่เคยแข็งแรงของกระดูกได้ถูกทำลายและเกิดความเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน ในคนหนุ่มสาวปกติทั่วไปที่มีสุขภาพแข็งแรง การสลายและสร้างมวลกระดูกเกิดขึ้นในระดับสมดุลจึงทำให้มีโครงสร้างกระดูกที่สมบูรณ์ แต่เมื่ออายุมากขึ้นทำให้การสลายกระดูกเกิดขึ้นมากกว่าการสร้างกระดูกในผู้สูงวัยจึงทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนในทั้งผู้หญิงและผู้ชาย นอกจากความชราที่เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคกระดูกพรุน ยังมีปัจจัยอื่นด้วย เช่น เชื้อชาติ น้ำหนักตัว วิถีการใช้ชีวิต โครงสร้างร่างกาย และเพศ รวมถึงการสูบบุหรี่จัดและการบริโภคแอลกอฮอล์มากเกินไป
สำหรับผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนหรือวัย 55 ขึ้นไป ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มีบทบาทในการปรับสมดุลการสร้างและสลายกระดูกจะถูกผลิตน้อยลงซึ่งส่งผลกระทบต่อโครงสร้างกระดูก ยิ่งไปกว่านั้นหากขาดแคลเซียมและวิตามินดีจะยิ่งนำไปสู่ภาวะกระดูกพรุนในภายหน้า ผู้หญิงวัย 55 ปีขี้นไป ควรบริโภคแคลเซียมอย่างน้อย 1500 มิลลิกรัมต่อวัน ร่วมกับวิตามินดี 600 ถึง 800IU อย่างไรก็ตาม อาหารเสริมจะจำเป็นต่อเมื่อร่างกายได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอและอยู่ในพื้นที่ที่ไม่ค่อยมีแสงแดด
การลดผลกระทบที่เกิดจากโรคกระดูกพรุน
อันตรายหลักๆของโรคกระดูกพรุนคือ กระดูกหักจากการหกล้ม กระดูกสันหลังหัก และกระดูกสะโพกหัก การลดผลกระทบของโรคกระดูกพรุนได้ด้วยการปรับแนวทางการใช้ชีวิตและรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพร่วมกับการออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น ว่ายน้ำ เทนนิส หรือการตีกอล์ฟ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการสร้างกระดูก นอกจากนี้ควรจำกัดบริโภคแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนสูงเพื่อรักษาน้ำหนักตัวที่ดีต่อสุขภาพ การใช้ยาบิสฟอสโฟเนค(Bisphosphonates)เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการลดความเสื่อมของกระดูก อย่างไรก็ตามการใช้ยามีผลข้างเคียงคือ อาการคลื่นไส้และอาหารไม่ย่อย รวมถึงการให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นฮอร์โมนทดแทน หรือ Hormone Replacement Therapy (HRT) ซึ่งสามารถลดการสูญเสียมวลกระดูกได้ แต่หากใช้เป็นเวลานานจะมีความเสี่ยงเช่นกัน
อ้างอิง
- Osteoporosis New Zealand (Inc), Wellington. What is Osteoporosis?. Osteoporosis New Zealand (2011)
- National Osteoporosis Foundation. Clinician’s Guide to Prevention and Treatment of Osteoporosis. Washington, DC, National Osteoporosis Foundation, 2010.
- L. Kathleen Mahan; Sylvia Escott-Stump. Nutrition and bone health. Krause’s Food and Nutrition Therapy, 12th ed., pp. 614-635. St. Louis: Saunders Elsevier. Anderson JJB (2008).
- North American Menopause Society. Management of osteoporosis in postmenopausal women: 2010 position statement of The North American Menopause Society. Menopause 2010 Jan-Feb, 17(1), 25-54
- Park-Wyllie LY; Mamdani MM; Juurlink DN; Hawker GA; Gunraj N; Austin PC; Whelan DB; Weiler PJ; Laupacis A. Bisphosphonate use and the risk of subtrochanteric or femoral shaft fractures in older women. JAMA 2011 Feb 23, 305(8), 783-789
Related Products
-
โกโกกิ พาวเวอร์ (Kokoki Power)