กริปินเป็นสารประกอบลิปิดจากพืชสกัดจากเห็ดไมทาเกะ ซึ่งอุดมไปด้วยเส้นใยอาหาร วิตามินและแร่ธาตุชนิดต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังกะสี ไนอาซิน วิตามินดีจำนวนมาก ในระยะหลังการทำงานขององค์ประกอบไขมันได้รับความสนใจมากขึ้นและได้มีการวิจัยต่างๆมากมายเกี่ยวกับลิปิดที่สกัดจากเห็ดไมทาเกะ (กริปิน) จากการวิจัยและพัฒนาร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยโตเกียวเภสัชศาสตร์และวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต (Tokyo University of Pharmacy and Life Science) กับบริษัท ไฮมาท (Heimat Corporate) ประเทศญี่ปุ่น พบว่ากริปินมีกรดไฮยาลูโรนิคสูงและมีฤทธิ์กระตุ้นการผลิตซีบัม
กริปินมีฤทธิ์กระตุ้นการผลิตซีบัมในต่อมไขมันและกระตุ้นการสังเคราะห์กรดไฮยาลูโรนิกในชั้นหนังแท้ ยกระดับฟังก์ชันการทำงานเพื่อรักษาความชุ่มชื่นและปกป้องผิวจากภายใน คุณสมบัติเหล่านี้ผ่านการรับรองด้วยการทดลองพื้นฐานและการทดลองทางคลีนิกแล้วว่ากริปินมีการทำงานดังต่อไปนี้
มีการวิจัยความเปลี่ยนแปลงของปริมาณซีบัมจากกริปินโดยเปรียบเทียบกับเห็ดกระดุม (Agaricus) ทั้งการทดลองในหลอดทดลอง (in vitro) และ การทดลองกับสิ่งมีชีวิต (in vivo)
ศึกษาการผลิตซีบัมของกริปินโดยใช้เซลล์ไขมัน (Sebaceous cell) ของหนูแฮมสเตอร์ที่คล้ายคลึงกับเซลล์ไขมันของมนุษย์ ควบคู่กับศึกษาการผลิตซีบัมของสารสกัดจากเห็ดกระดุมที่สกัดด้วยวิธีเดียวกับกริปิน
จากผลที่ปรากฎโดยวิธีย้อมสีซีบัมภายในเซลล์ให้เป็นสีแดงด้วย Oil Red O จะเห็นได้ว่าเซลล์ที่ได้รับสารสกัดจากเห็ดไมทาเกะมีซีบัมเพิ่มขึ้น แม้ว่าจะเห็นผลการสะสมของซีบัมด้วยสารสกัดจากเห็ดกระดุมด้วยเช่นกัน แต่เห็นได้ชัดว่าสารสกัดจากเห็ดไมทาเกะประสิทธิผลสูงกว่าอย่างมาก
เมื่อทำการวิเคราะห์องค์ประกอบของซีบัมที่ผลิตขึ้นจากการได้รับกริปิน พบว่าปริมาณไตรอาซิลกลีเซอรอล (Triacylglycerol : TG) ซึ่งเป็นสารประกอบหลักของซีบัมเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
ทาสารสกัดจากเห็ดไมทาเกะและสารสกัดจากเห็ดกระดุมที่ใบหูของหนูแฮมสเตอร์อย่างละข้าง วันละ 1 ครั้งเป็นเวลา 2 สัปดาห์แล้ววิเคราะห์โดยใช้วิธีย้อมสีด้วย Oil Red O
ตรวจไม่พบการเพิ่มของปริมาณซีบัมในหูข้างที่ทาสารสกัดจากเห็ดกระดุม แต่พบว่าหูข้างที่ทาสารสกัดจากเห็ดไมทาเกะมีการสั่งสมซีบัมเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
ทั้งในการทดลองในหลอดทดลองและการทดลองกับสิ่งมีชีวิตแสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากเห็ดไมทาเกะมีฤทธิ์ส่งเสริมการผลิตซีบัม จึงคาดหวังได้ว่ากริปินจะช่วยยกระดับการปกป้องและรักษาความชุ่มชื่นในผิวโดยการเพิ่มซีบัมในผิวของผู้ใช้ ซึ่งไม่ใช่การรักษาความชุ่มชื่นแบบเดิมที่ทำโดยการเคลือบผิวหนังด้วยน้ำมันหรือน้ำ
จากผลการวิจัยทำให้ทราบว่ากริปินส่งผลต่อเอนไซม์ที่เป็นตัวผลิตกรดไฮยาลูโรนิก
HAS-2 คือเอนไซม์ที่สร้างกรดไฮยาลูโรนิก ในเซลล์ไฟโบรบลาสต์ของมนุษย์โดยปกติจะพบ HAS-2 mRNA ต่ำมาก แต่พบว่ามีปริมาณเพิ่มขึ้นในกรณีที่ใช้กริปิน
ผลการทดลองแสดงได้ให้อย่างชัดเจนว่าปริมาณกรดไฮยาลูโรนิกเพิ่มมากขึ้นจากการใช้กริปิน (กราฟสีแดง) และพบว่าปริมาณกรดไฮยาลูโรนิกที่เพิ่มขึ้นจากกริปินเป็นเพราะมีการยับยั้งการผลิตสาร 4 เมทิลอัมเบลลิเฟอรอน (4Methyl umbelliferone : 4MU) ซึ่งเป็นสารยับยั้งการสังเคราะห์กรดไฮยาลูโรนิก (กราฟสีเขียว)
กริปินไม่ส่งผลกระทบใดๆต่อการพบคอลลาเจน α1mRNA แต่สำหรับ TGF-β ได้ผลลัพท์เป็น Positive Control
กริปินไม่ส่งผลกระทบใดๆต่อการพบอิลาสติน mRNA แต่สำหรับ TGF-β ได้ผลลัพธ์เป็น Positive Control
กริปินไม่ส่งผลกระทบต่อคอลลาเจนและอิลาสตินแต่เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าส่งผลอย่างเจาะจงต่อกรดไฮยาลูโรนิก และพบว่าการเพิ่มขึ้นของปริมาณกรดไฮยาลูโรนิกจากการใช้กริปินเกิดขึ้นเพราะเอนไซม์ที่สร้างกรดไฮยาลูโรนิกมีปริมาณเพิ่มขึ้น การส่งเสริมการสังเคราะห์กรดไฮยาลูโรนิกในชั้นหนังแท้ของกริปินจึงคาดหวังได้ว่าจะช่วยยกระดับการรักษาความชุ่มชื่นของผิวหนังได้
ศึกษาว่าครีมกริปินทำงานอย่างไรกับฟังก์ชันการเป็นเสมือนกำแพงป้องกันของผิวหนังที่ด้อยประสิทธิภาพลงในผู้ป่วยโรคผิวแห้ง โดยการทาครีมกริปินให้กับผู้ป่วยโรคผิวแห้งและคนปกติภายในระยะเวลาหนึ่ง ในส่วนของผู้ป่วยโรคผิวแห้งจะตรวจสอบระดับการตกสะเก็ดและในส่วนของคนปกติจะวัดปริมาณน้ำในผิวชั้นหนังกำพร้ากับปริมาณซีบัมด้วยเครื่องวัด
ผู้ป่วยโรคผิวแห้ง 60 ราย (อายุ 75-95 ปี)
12 ราย … ทาครีมกริปิน 1 ครั้ง ต่อ 1 วัน เป็นเวลา 1 สัปดาห์
35 ราย … ทาครีมกริปิน 1 ครั้ง ต่อ 1 วัน เป็นเวลา 5 สัปดาห์
ในผู้ป่วยโรคผิวแห้งที่ทาครีมกริปินแล้วเป็นเวลา 1 สัปดาห์ พบว่ารอยแตกและสะเก็ดของผิวหนังที่ขาท่อนล่างและหลังเท้ามีอาการดีขึ้น ได้รับการยอมรับทางคลินิกว่าผู้ป่วยส่วนมากมีอาการดีขึ้น นอกจากนี้ในส่วนของผู้ป่วยโรคผิวแห้งที่ทาครีมเป็นเวลา 5 สัปดาห์ ได้รับการยอมรับว่าสภาพอาการของโรคดีขึ้นจากระดับอาการหนัก เป็นระดับกลางและระดับเบา
ผู้รับการทดลองที่มีผิวปกติ 15 ราย (อายุ 23 – 63 ปี)
ทาครีมกริปิน 3 ครั้ง ต่อ 1 วัน เป็นเวลา 4 สัปดาห์ (28 วัน)
ปริมาณซีบัมในผิวชั้นนอกและปริมาณน้ำในผิวชั้นหนังกำพร้าเพิ่มมากขึ้น สังเกตเห็นได้ในวันรุ่งขึ้นหลังจากทาครีมกริปินและคงรักษาสภาพผิวที่ดีไว้ได้ตลอดระยะเวลา 4 สัปดาห์ของการทดลอง
ครีมกริปินช่วยกระตุ้นให้ผิวชุ่มชื้นขึ้นอีกครั้งโดยการส่งเสริมการสร้างซีบัมในต่อมไขมันและเซลล์ที่สร้างซีบัม ฟื้นฟูและรักษาฟังก์ชั่นการเป็นเสมือนกำแพงป้องกันของผิวหนัง อีกทั้งยังรักษาความชุ่มชื้นจากภายในผิว จากการทดลองจริงนี้ได้ทำให้เห็นว่าครีมมีฤทธิ์ในการปรับปรุงสภาพอาการของผิวในผู้ป่วยโรคผิวแห้งให้ดีขึ้น และเพิ่มความสามารถในการรักษาความชุ่มชื่นสำหรับคนผิวปกติ