มิลค์กี้พาวเวอร์
™ คือผงเวย์โปรตีนเข้มข้น 100% ที่สกัดจากนมวัวพรีเมี่ยมและประกอบไปด้วยสารสกัดธรรมชาติที่อยู่ในนมวัว อุดมคุณค่าด้วย ImmunoglobinG (IgG), Seretory IgA (s-IgA) และ Lactoferrin โดยมิลค์กี้พาวเวอร์สามารถนำไปผลิตเป็นอาหารเสริม รวมถึงอาหารและเครื่องดื่มแบบเย็น
คุณประโยชน์
ในกลุ่มคนสูงอายุมักจะมีอาการที่พบได้บ่อยคือ อาการติดเชื้อในกระเพาะอาหารและโรคลำไส้อักเสบ โดย Immunoglobulins หรือแอนติบอดีเป็นไกลโคโปรตีนที่ได้มาจากเม็ดเลือดในระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งมีหน้าที่ในการจับสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย อีกทั้ง Immunoglobulins ที่มีอยู่ในนม จะเป็นเกราะป้องกันระบบทางเดินอาหารและเชื้อจุลินทรีย์ที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้
Immunoglobulins ที่มีอยู่ในนมวัวและน้ำนมเหลือง (Colostrum) นั้นมีประสิทธิภาพสูงในการจับเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคหลายชนิด รวมถึงโรคติดเชื้อทางเดินอาหาร โดยมีการศึกษาพบว่า Immunoglobulins เข้มข้นที่สกัดจากนมวัวและน้ำนมเหลืองสามารถป้องการและลดอาการอาหารเป็นพิษที่มีในเด็กทารกและผู้ใหญ่ได้
2 ยกตัวอย่างเช่น การป้องกันและลดอัตราการเกิดอาการท้องร่วงของนักเดินทาง
3 โรคลำไส้อักเสบจากเชื้อโรตาไวรัส
7, 8 เชื้อ enteropathogenic E. coli infection
6 รวมถึงลดอัตราการเกิดจุลินทรีย์ที่อาจก่อให้เกิดโรคฟันพุ
4 และลดแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคท้องร่วง
5 เป็นต้น
9
Lactoferrin เป็นไกลโคโปรตีนที่จับกับธาตุเหล็กตามธรรมชาติ ซึ่งมักพบได้ในมนุษย์และนมวัวที่จะเป็นเกราะป้องกันระบบภูมิคุ้มกัน ผ่านสารต้านแบคทีเรียและสารต้านอนุมูลอิสระ
10
ประสิทธิภาพของ IgG กับการต้านเชื้อโรคได้มากกว่า 20 ชนิด
ในปี ค.ศ. 2001 มีวารสารทางวิชาการ “Food Research International” กล่าวว่า IgG ที่สกัดจากนมวัวในประเทศนิวซีแลนด์นั้นสามารถต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราได้มากถึง 19 ชนิด
มหาวิทยาลัย Juntendo ในประเทศญี่ปุ่นได้ทำการทดลองและมีการตีพิมพ์วารสารทางวิชาการ “Food Science & Nutrition” ในปี ค.ศ. 2019 เกี่ยวกับประสิทธิภาพของ IgG ที่สกัดจากนมวัวในประเทศนิวซีแลนด์พบว่า IgG สามารถต้านเชื้อไมโครแบคทีเรียที่ไม่ใช่วัณโรค ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตสูงสุดเป็นอันดับสามในประเทศญี่ปุ่นและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นในทุกๆปี
เชื้อโรค
|
อาการ และอาการแสดงที่มีผลมาจากการติดเชื้อ
|
Bacillus cereus |
อาเจียน ท้องเสียหรืออาการปวดท้อง สาเหตุจากอาหารเป็นพิษ |
Campylobacter jejuni |
โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน |
Candida albicans |
อาการติดเชื้อในเยื่อบุ และโรคผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ |
Escherichia coli |
อาหารเป็นพิษ และภาวะติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ |
Escherichia coli 0157:H7 |
อาหารเป็นพิษ โรคอุจจาระร่วง และอาการฮีโมไลติกยูรีมิก |
Helicobacter pylori |
โรคแผลในกระเพาะอาหาร และโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร |
Klebsiella pneumoniae |
โรคปอดบวม |
Listeria monocytogenes |
โรคไข้สมองอักเสบ และโรคข้ออักเสบ |
Propionibacterium acnes |
สิว |
Salmonella enteritidis |
อาหารเป็นพิษ |
Salmonella typhimurium |
อาหารเป็นพิษ |
Staphylococcus epidermidis |
โรคติดเชื้อฉวยโอกาส และอาการอักเสบที่เป็นหนองเกิดจากการติดเชื้อ |
Streptococcus agalactiae |
โรคเต้านมอักเสบ และการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ |
Streptococcus mutans |
โรคฟันผุ |
Streptococcus pneumoniae |
โรคปอดบวม และโรคข้ออักเสบ |
Streptococcus pyogenes |
โรคไตอักเสบ และโรคคออักเสบ |
Yersinia enterocolitica |
โรคลำไส้อักเสบ อาหารเป็นพิษและภาวะข้อต่ออักเสบ |
Haemophilus influenzae |
โรคหลอดลมอักเสบ |
Stahylococcus aureus |
อาการอักเสบที่เป็นหนองเกิดจากการติดเชื้อ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ และโรคอาหารเป็นพิษ |
Mycobacteria |
เชื้อไมโครแบคทีเรียที่ไม่ใช่เชื้อวัณโรค
|
รายงานจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย Juntendo ประเทศญี่ปุ่น
References
- Crane, S.J. & Talley, N.J. (2007). Clinics in Geriatric Medicine, 23: 721-734.
- Korhonen, H., Marnila, P. and Gill, H.S. (2000). British Journal of Nutrition, 84(suppl. 1): S75-S80.
- McConnell, M.A. et. al. (2001). A comparison of IgG and IgG1 activity in an early milk concentrate from non-immunised cows and a milk from hyperimmunised animals. Food Research International, 34: 255-261.
- Tacket, C.O., et. al. (1988). Protection by milk immunoglobulin concentrate against oral challenge with enterotoxigenic Escherichia coli. New England Journal of Medicine, 318: 1240-1243.
- Shimazaki, Y. et. al. (2001). Passive immunization with milk produced from an immunized cow prevents oral recolonization by Streptococcus mutans. Clinical and Diagnostic Laboratory Immunology, 8: 1136-1139.
- Van Dissel, J.T. et. al. (2005). Bovine antibody-enriched whey to aid in the prevention of a relapse of Clostridium difficile-associated diarrhoea: preclinical and preliminary clinical data. Journal of Medical Microbiology, 54: 197-205.
- Hilpert, H. et. al. (1977). Bovine milk immunoglobulins (Igs), their possible utilisation in industrially prepared infants milk formulae. In L. Hambraeus, L. Hanson, H. & McFarlane, Proceedings of the XIIIth Symposium of the Swedish Nutrition Foundation, Food and Immunology (pp. 182-192) Stockholm, Sweden: Swedish Nutrition Foundation.
- Bogstedt, A.K. et. al. (1996). Passive immunity against diarrhoea. Acta Paediatrica, 85: 125-128.
- Hilpert, H. et. al. (1987). Use of bovine milk concentrate containing antibody to rotavirus to treat rotavirus gastroenteritis in infants. Journal of Infectious Diseases, 156: 158-166.
- Mehra, R. et. al. (2006). Milk immunoglobulins for health promotion. International Dairy Journal, 16: 1262-1271.
- Steijns, and van Hooijdonk, 2000, British Journal of Nutrition, 84(Suppl. 1): S11-S17.
Related Information
-
งานวิจัยตีพิมพ์
A comparison of IgG and IgG1 activity in an early milk concentrate from non-immunised cows and a milk from hyperimmunised animals